Best Seller

มาตรฐานการออกแบบอาคารเหล็กรูปพรรณโดยวิธีตัวคูณความต้านทานและน้ำหนักบรรทุก (ราคารวมส่ง)184

คุณสมบัติสินค้า:

วิธีตัวคูณความต้านทานและน้ำหนักบรรทุก (Load and Resistance Factor Design) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า วิธี LRFD เป็นวิธีการออกแบบโครงสร้างเหล็กที่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นจากวิธิหน่วยแรงที่ยอมให้ (Allowable stress Design, ASD) วิธี LRFD ให้ความแม่นยำมากกว่าในการกำหนดน้ำหนักบรรทุกที่ใช้ออกแบบ ด้วยการจำแนกตัวคูณ สำหรับน้ำหนักบรรทุกระบุแต่ละประเภท และใช้สภาวะวิกฤติของกลุ่มน้ำหนักบรรทุก และวิธี LRFD ยังมีความละเอียดและถูกต้องมากขึ้น ในการกำหนดความต้านทานของโครงสร้าง โดยอาศัยแนวความคิดของ สภาวะจำกัด (Limit State) ของโครงสร้าง

Share

มาตรฐานการออกแบบอาคารเหล็กรูปพรรณโดยวิธีตัวคูณความต้านทานและน้ำหนักบรรทุก ฉบับพิมพ์ปรับปรุงครั้งที่ 1 : สิงหาคม 2551 โดยคณะอนุกรรมการสาขาโครงสร้างเหล็ก โดยผ่านการทำเทคนิคพิจารณ์ การประชุมโต๊ะกลมร่วมกับวิศวกรและนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบอาคารเหล็กรูปพรรณผ่านทางเว็บไซต์ วสท. ซึ่งการปรับปรุงครั้งนี้ประกอบด้วย การแก้ไขคำผิด การเพิ่มรูปเพื่อช่วยความเข้าใจ และเพิ่มคำอธิบายเสริมอีก 2 บท เพื่อความสะดวกและเพิ่มความเข้าใจการใช้มาตรฐานฯ ให้มากยิ่งขึ้น

โดยเนื้อหาด้านในประกอบด้วย

บทที่ 1 บทกำหนดทั่วไป

บทที่ 2 ข้อกำหนดในการออกแบบ

บทที่ 3 โครงและโครงสร้างอื่น ๆ

บทที่ 4 องค์อาคารรับแรงดึง

บทที่ 5 เสาและองค์อาคารรับแรงอัดอื่น ๆ

บทที่ 6 คานและองค์อาคารรับแรงดัด

บทที่ 7 คานแผ่นเหล็กประกอบ

บทที่ 8 องค์อาคารที่รับแรงร่วมและโมเมนต์บิด

บทที่ 9 องค์อาคารวัสดุผสม

บทที่ 10 ข้อต่อ รอยต่อ และอุปกรณ์ยึด

บทที่ 11 แรงกระทำเป็นจุด การขังน้ำ และการล้า

บทที่ 12 ข้อควรพิจารณาในการออกแบบเพื่อการใช้งานได้ดี

บทที่ 13 การประกอบชิ้นงาน การติดตั้ง และการควบคุมคุณภาพ

บทที่ 14 การประเมินโครงสร้างเดิม


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้