การออกแบบตามวิธี “ภาวะสุดขีด” นั้น เป็นการออกแบบสำหรับภาวะที่ไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นแก่โครงสร้างนั้นได้เลย มาตรฐานการคำนวณออกแบบโครงสร้างคอนกรีต โดยวิธีภาวะสุดขีดนี้ได้บรรยายให้ทราบถึงมูลฐานความเข้าใจในการออกแบบตาม รวมทั้งทฤษฎีวิธีออกแบบไว้ด้วยแล้ว โดยให้เป็นดุลยพินิจของวิศวกรในการเลือกใช้วิธีออกแบบคำนวณว่าจะใช้ตามวิธีดั้งเดิม “อีลาสติก” หรือ วิธี “ภาวะสุดขีด”หากท่านเลือกใช้วิธีใดก็ควรจะทำให้ถูกต้องตามวิธีนั้นนับตั้งแต่ต้นจนตลอดกระบวนการ และขั้นตอนของวิธีนั้น
หมวดหมู่ : ร้านหนังสือวิศวกรรมและเทคโนโลยี , 
Share
รายละเอียด จำนวน 192 หน้า
การคำนวณออกแบบโดยวิธี “ภาวะสุดขีด” นี้ เป็นวิวัฒนาการ
สืบต่อจากการออกแบบวิธีดั้งเดิม คือวิธี “อีลาสติก” เพื่อที่จะหา
ทางคำนวณโครงสร้างให้ได้สัดส่วนที่เล็กลง แต่ยังสามารถที่จะรับ
น้ำหนักใช้งานได้เท่า ๆ กับโครงสร้างแบบเดียวกับที่คำนวณโดย
วิธีดั้งเดิม วิธี “ภาวะสุดขีด” เดิมเป็นมาตรฐานที่ วสท. เคยจัดพิมพ์
ซึ่งครั้งนั้น ผู้เขียน คือ ดร.สิริลักษณ์ จันทรางศุ อดีตนายก วสท.
แต่เนื่องจากจัดพิมพ์มานาน ไม่มีการปรับปรุง และไม่มีจำหน่ายใน
ร้านหนังสือของ วสท. คณะทำงานโดยอาจารย์คณะ
วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นเป็นโอกาสดีที่จะ
ปรับปรุงมาตรฐานดังกล่าวจึงได้จัดทำอีกครั้ง โดยรวบรวมจาก
มาตรฐานสากล และมอบลิขสิทธิ์ให้แก่ สมาคมวิศวกรรมสถาน
แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เป็นผู้จัดพิมพ์ และ
เผยแพร่ต่อไป
ในเนื้อหาประกอบด้วย
บทที่ 1 พื้นฐานการออกแบบ
บทที่ 2 ข้อกำหนดวัสดุโครงสร้าง
บทที่ 3 น้ าหนักบรรทุกและแรงกระท า
บทที่ 4 ความน่าเชื่อถือทางโครงสร้างและการวิเคราะห์โครงสร้าง
บทที่ 5 ภาวะสุดขีดประลัย
บทที่ 6 ภาวะสุดขีดการใช้งาน
บทที่ 7 ภาวะสุดขีดความทนทาน
บทที่ 8 การออกแบบองค์อาคาร
บทที่ 9 โครงสร้างคอนกรีตอัดแรง
บทที่ 10 โครงสร้างเชิงประกอบ เหล็กกับคอนกรีต
บทที่11 โครงสร้างแรงอัด แรงดึง
บทที่ 12 รายละเอียดเหล็กเสริมทางโครงสร้าง